• srikrungchannel@gmail.com
  • 065-423-2425

เกี่ยวกับ พรบ. รถยนต์

รายละเอียดแบบประกัน

พรบ. รถยนต์คืออะไร

     พรบ. รถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กฏระเบียบและข้อบังคับสำคัญที่กฎหมายบังคับใช้ให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องดำเนินการต่อพรบ.รถยนต์ เพื่อใช้เป็นหลักประกันในกรณีฉุกเฉินที่รถทุกคันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อประกันค่าชดเชยให้กับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า ในกรณีที่ได้รับความเสียหาย บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

 พรบ. รถยนต์ กับภาษีรถยนต์เหมือนกันหรือไม่

     ไม่เหมือนกันครับ! พรบ. รถยนต์ คือกฎหมายการประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องซื้อติดรถเอาไว้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะขับรถ พรบ. รถยนต์จะช่วยชำระค่าเสียหายให้ตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนภาษีรถยนต์หรือการต่อทะเบียนรถยนต์นั้น จะต้องดำเนินการในทุก ๆ ปีตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำเงินภาษีปรับปรุงและพัฒนาการคมนาคมบนท้องถนน ซึ่งสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าการต่อพรบ.รถยนต์ และการต่อภาษีรถยนต์คือเรื่องเดียวกัน เพราะขั้นตอนการดำเนินการต่ออายุของ 2 ฉบับนี้ จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป หากคุณไม่ได้ต่อ พรบ. รถยนต์เอาไว้ก่อนหน้าจะไม่สามารถต่อในส่วนของภาษีรถยนต์ได้

พรบ. รถยนต์คุ้มครองในเรื่องใด? 

การคุ้มครองประกันภัยภาคบังคับจากพรบ.รถยนต์ ทั้งหมด 2 กรณี ได้แก่

1. ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด

     กรณีได้รับบาดเจ็บ จะได้รับเงินตามค่ารักษาพยาบาลจริงสูงสุด ไม่เกิน 30,000 บาท

กรณีถึงแก่ชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท

กรณีถึงแก่ชีวิต หลังจากได้รับการรักษาพยาบาลแล้ว จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท ทั้งสิ้นรวมแล้วต้องไม่เกิน 65,000 บาท

2. ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เงินชดเชยสำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายถูก หลังจากการพิสูจน์ฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกผิดแล้ว

 ค่ารักษาพยาบาล จะได้รับเงินตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท

กรณีสูญเสียอวัยวะ จะแบ่งออกเป็น 3 กรณีได้แก่    

     2.1 การสูญเสียมือ ตั้งแต่ข้อมือหรือแขน การสูญเสียเท้า ตั้งแต่ข้อเท้าหรือขา การสูญเสียการมองเห็น (ตาบอด) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมกันตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป จะได้รับค่าชดเชย จำนวน 300,000 บาท

     2.2 การสูญเสียมือ ตั้งแต่ข้อมือหรือแขน การสูญเสียเท้า ตั้งแต่ข้อเท้าหรือขา  การสูญเสียการมองเห็น (อาการตาบอดสนิทที่ไม่สามารถกลับมามองเห็นได้อีก) การสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการพูดหรือลิ้นขาด (หูหนวกเป็นใบ้) การสูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ การเกิดจิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด ค่าชดเชย จำนวน 250,000 บาท

      2.3 การสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่าจะในกรณีเพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว ค่าชดเชย จำนวน 200,000 บาท

      ค่าชดเชย กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ต้องไม่เกิน 20 วัน

ศูนย์รวม พรบ. มีทั้ง พรบ. รถเก๋ง พรบ. รถกระบะ พรบ. รถตู้ พรบ. จักรยานยนต์ พรบ. รถบรรทุก มีทุกอย่างครบจบที่เดียว จัดส่งกรมธรรม์ถึงบ้านไม่ต้องเดินทาง สั่งซื้อออนไลน์ได้เลย!

รูปภาพแบบประกัน

วิดีโอแบบประกัน

ดูอนิเมะ